ข้อมูลพรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

อุบัติเหตุจากรถ พ.ร.บ.คุ้มครองอย่างไร?
กฎหมายบังคับให้รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ทุกคันทุกประเภท จะต้องทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ "เรามักเรียกว่า พ.ร.บ."
ซึ่งคุ้มครองทุกคนที่ประสบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมถึงคนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต บาดเจ็บ ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ
จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้เป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าปลงศพแล้วแต่กรณี แต่ไม่รวมค่าเสียหายของทรัพย์สิน
สำหรับผู้ที่ผู้ที่สงสัยสามารถสอบถามได้ที่
ความคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับ

แบ่งเป็น 2 ระดับ สามารถ มอบอำนาจให้โรงพยาบาลตั้งเบิกได้
ระดับ 1 ค่าเสียหายเบื้องต้น
ไม่ต้องรอผลพิสูจน์ว่าฝ่ายใดชนหรือฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกหรือผิด
-
กรณีบาดเจ็บจ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
-
กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 35,000 บาท
-
กรณีเสียชีวิตหลังจากรักษาพยาบาล จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพอีกจำนวน 35,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท
ระดับ 2 ค่าสินไหมทดแทน
เงินชดเชยที่ฝ่ายถูกจะได้รับหลังการพิสูจน์ผิดถูกแล้ว
-
ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
-
สูญเสียอวัยวะ แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้
-
สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือเสียแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือเสียขา หรือตาบอด อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งรวมกันตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป ชดเชย 300,000 บาท
-
สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือเสียแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือเสียขา หรือสายตา (ตาบอดแบบไม่สามารถมองเห็นได้เลย) หรือหูหนวกเป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูดหรือลิ้นขาด หรือสูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถในการสืบพันธุ์ หรือจิตพิการอย่างติดตัว หรือเสียอวัยวะอื่นใด ชดเชย 250,000 บาท
-
สูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียว หรือหลายนิ้ว ชดเชย 200,000 บาท
-
-
ค่าชดเชยกรณีเป็นผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน
การขอรับค่าเสียหาย

สำหรับผู้ที่มีพรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะได้รับความคุ้มครอง สามารถเบิกค่ารักษาได้ โดยการมอบอำนาจให้ รพ. ตั้งเบิก

เอกสารในการมอบอำนาจให้โรงพยาบาลสำหรับเบิก พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ประกอบดังนี้
-
สำเนากรมธรรม์รถที่ประสบภัย / บัตรประชาชนเจ้าของรถ
(ในกรณีเป็นรถของผู้อื่น)
-
สำเนาทะเบียนรถและหน้าเสียภาษี
-
สำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ
(มีลายเซ็นสำเนาถูกต้องจากตำรวจ)
-
สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย หรือ ใบขับขี่ของผู้ประสบภัย
(กรณีอายุต่ำกว่า 15ปี ให้บิดาหรือมารดาเซ็นกำกับ)
-
สำเนาสูติบัตร
(กรณี อายุต่ำกว่า 15 ปี)
-
สำเนามรณะบัตร
(กรณี เสียชีวิต)
-
ให้ผู้ที่มีรายชื่อในสำเนาเอกสารเป็นผู้เส้นสำเนาถูกต้อง
-
ถ้าเอกสารไม่ครบต้องสำรองจ่ายไปก่อน เมื่อมีเอกสารครบแล้วแจ้งเรื่องร้องขอเงินคืนได้
กรณีอุบัติเหตุจากรถ ที่สามารถทำการเบิกได้

กรณีใดบ้าง ที่สามารถเบิกได้ พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

กรณีอุบัติเหตุจากรถ เช่น
-
อุบัติเหตุรถชน
-
อุบัติเหตุรถชนข้างทาง
-
อุบัติเหตุรถล้ม
กรณีดังกล่าวข้างต้น ผู้ประสบภัยขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น 30,000 บาท/คน ได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานพาณิชย์ทุกจังหวัด