ความหนาแน่นของมวลกระดูก หากมีปริมาณลดลงจะทำให้เกิดความเสี่ยงเกิดกระดูกหักได้ง่าย เป็นความเสี่ยง และปัญหาสุขภาพตามมา การลดลงของงมวลกระดูกนั้น โดยปกติจะค่อยลดน้อยลงไปตามช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชาย และซึ่งผู้หญิงจะมีความเสี่ยงสูงหลังช่วงวัยหมดประจำเดือน รวมทั้งสาเหตุอื่น เช่น มีประวัติกระดูกเปราะหักง่าย การทานยาบางกลุ่มติดต่อกันเป็นเวลานาน ป่วยด้วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือมีภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป เป็นต้น
การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก Bone Densitometry
จึงมีส่วนสำคัญช่วยให้ทราบถึงระดับความหนาแน่นของมวลกระดูกที่แท้จริง ด้วยวิธีการตรวจทางรังสีชนิดหนึ่ง ทำการตรวจตำแหน่งต่างๆ เช่น กระดูกสันหลัง(SPINE) กระดูกสะโพก (HIP) หรือกระดูกแขนบริเวณข้อมือ (FOREARM & WRIST) ผลการตรวจช่วยวินิจฉัยให้ทราบ ภาวะเสี่ยงของโรคกระดูกบาง โรคกระดูกพรุน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดูกเปราะ แตกหักง่าย และหากตรวจพบว่ามีภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกพรุน และวางแผนป้องกันพร้อมเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกให้กลับมาอยู่ในระดับที่มีความปลอดภัยแข็งแรง
รายการตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน

กลุ่มไหน? เช็คภาวะเสี่ยงกระดูกพรุน
สตรีเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน
ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และรับประทานอาหารเค็มจัดเป็นประจำ
สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
ใช้ยาสเตียรอยด์ ยารักษามะเร็ง ยากันชัก ยากันลิ่มเลือดแข็ง หรือได้รับยาฮอร์โมนไทรอยด์เป็นเวลานาน
ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน หรือหกล้มแล้วมีกระดูกหักในครอบครัว
เงื่อนไข
ราคานี้ รวมค่าตรวจ ค่าแพทย์ และ ค่าบริการแล้ว
ไม่สามารถใช้วิธีเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกับบริษัทคู่สัญญา,บริษัทประกัน รวมถึงการรับส่วนลดในฐานะบริษัทคู่สัญญาประกัน และสิทธิพิเศษอื่น ๆ ได้
โรงพยาบาลฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคา หรือ เงื่อนไขโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า